ในปัจจุบันนี้ คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อชีวิตประจำวัน
เราจึงควรศึกษาและทำความเข้าใจกับคอมพิวเตอร์ให้มากขึ้น ในหน่วยการเรียนนี้นักศึกษาจะได้ศึกษาเกี่ยวกับ
ความหมายของคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบในการทำงาน ส่วนประกอบต่าง ๆ
ในเครื่องคอมพิวเตอร์ การตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ และยังมีอุปกรณ์ต่อพ่วงกับเครื่อง
เพื่อให้เราสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น สะดวกในการทำงานในรูปแบบต่าง
ๆ จุดประสงค์การเรียนรู้
ความหมายของคอมพิวเตอร์
การนับ หรือ การคำนวณ เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถทำงานคำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ
พัฒนา การ ทางคอมพิวเตอร์ ได้ ก้าว หน้า ไป อย่าง รวด เร็ว และ ต่อ เนื่อง จาก อดีต เป็น อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ ที่ ใช้ หลอดสุญญากาศขนาด ใหญ่ ใช้ พลัง งาน ไฟ ฟ้า มาก
และ อายุ การ ใช้ งาน ต่ำ เปลี่ยน มา ใช้ ทรานซิสเตอร์ ที่ ทำ จาก ชิน ซิ ลิ กอนเล็ก ๆ ใช้ พลัง งาน ไฟ ฟ้า ต่ำ
และ ผลิต ได้ จำนวน มาก ราคา ถูก
ต่อ มา สามารถ สร้าง ทรานซิสเตอร์ จำนวน หลาย แสน ตัว บรรจุ บน ชิ้น ซิ ลิ กอนเล็ก ๆ เป็น วง จร รวม ที่ เรียก ว่า
ไมโคร ชิป (microchip)
และ ใช้ ไมโคร ชิปเป็น ชิ้น ส่วน หลัก ที่ ประกอบ อยู่ ใน คอมพิวเตอร์ ทำ ให้ ขนาด ของ คอมพิวเตอร์ เล็ก ลง
ไมโคร ชิปที่ มี ขนาด เล็ก นี้ สามารถ ทำ งาน ได้ หลาย หน้า ที่ เช่น ทำ หน้า ที่ เป็น หน่วย ความ จำ สำหรับ เก็บ ข้อ มูล ทำ หน้า ที่ เป็น หน่วย ควบ คุม อุปกรณ์ รับ เข้า และ ส่ง ออก หรือ ทำ หน้า ที่ เป็น หน่วย ประมวล ผล กลาง ที่ เรียก ว่า ไมโคร โพรเซสเซอร์
ไมโคร โพรเซสเซอร์ หมาย ถึง หน่วย งาน หลัก ใน การ คิด คำนวณ การ บวก ลบ คูณ หาร การ เปรียบ เทียบ
การ ดำ เนิน การ ทางตรรกะ ตลอด จน การ สั่ง การ เคลื่อน ข้อ มูล จาก ที่ หนึ่ง ไป ยัง อีก ที่ หนึ่ง หน่วย ประมวล ผล กลาง นี้ เรียก อีก อย่าง ว่า ซี พียู (Central Processing Unit
: CPU)
การประมวลผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยอุปกรณ์รับเข้า (input device) เพื่อรับข้อมูลและคำสั่งจากผู้ใช้ภายนอกเข้าไปเก็บอยู่ในอุปกรณ์เก็บข้อมูลหรือหน่วยความจำหลัก (main memory) คำสั่งที่เก็บในส่วนความจำหลักจะถูกนำไปตีความ และสั่งทำงานที่หน่วยประมวลผลกลาง ที่เรียกว่า ซีพียู ซึ่งเป็นหัวใจของการทำงานในคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่คำนวณและเปรียบเทียบข้อมูลที่เก็บในหน่วยความจำหลัก ผลจากการคำนวณหรือประมวลผลจะนำกลับไปเก็บยังหน่วยความจำหลัก และพร้อมที่จะนำออกแสดงที่อุปกรณืส่งออก (output device) กลับไปสู่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ต่อไป ดังนั้นระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย ซีพียู หน่วยความจำ อุปกรณ์รับเข้า และอุปกรณ์ส่งออก
ส่วนรับข้อมูล (Input)
เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่คือ แผงแป้นอักขระ (keyboard) และเมาส์ (mouse)
ส่วนประมวลผลกลาง (Process)
ส่วนควบคุมกลางหรือ ซีพียู(central processing unit; CPU) ของระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนใหญ่ ๆ 2 ส่วน คือ หน่วยคำนวณ หน่วยควบคุม
ส่วนควบคุมกลางหรือ ซีพียู(central processing unit; CPU) ของระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนใหญ่ ๆ 2 ส่วน คือ หน่วยคำนวณ หน่วยควบคุม
ส่วนแสดงผล (Output)เป็นอุปกรณ์ส่งออก (output device) ทำหน้าที่แสดงผลจากการประมวลผล โดยนำผลที่ได้ออกจากหน่วยความจำหลักแสดงให้ผู้ใช้ได้เห็นทางอุปกรณ์ส่งออก อุปกรณ์ส่งออกที่นิยมใช้ส่วนใหญ่คือ จอภาพ และเครื่องพิมพ์
1. อนาลอกคอมพิวเตอร์ (Analog
Computer)
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อใช้
กับงานเฉพาะด้าน มีการทำงานโดยใช้หลักในการวัด มีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่แยกส่วนทำหน้าที่เป็นตัวกระทำและฟังก์ชัน
ทางคณิตศาสตร์ โดยใช้ค่าระดับแรงดันไฟฟ้าเป็นหลักในการคำนวณ และการรับข้อมูลจะรับในลักษณะของปริมาณที่มีค่าต่อเนื่อง
ส่วนการรับข้อมูลสามารถรับข้อมูลได้โดยตรงจากแหล่งเกิดข้อมูล แล้วแสดงผลออกมาทางจอภาพ
หรืออ่านค่าได้จากเครื่องวัดและแทนค่าเป็นอุณหภูมิ ความเร็ว หรือความดัน มีความละเอียดและสามารถคำนวณได้น้อยกว่าดิจิทัลคอมพิวเตอร์
ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากเหมือนกับดิจิทัลคอมพิวเตอร์ ได้แก่ เครื่องที่ใช้วัดปริมาณทางฟิสิกส์
ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะออกมาในรูปของกราฟ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตรวจสภาพอากาศ
และที่ใช้ในวงการแพทย์ เช่น เครื่องตรวจวัดสายตา ตรวจวัดคลื่นสมองและการเต้นของหัวใจ
เป็นต้น
2. ดิจิทัลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer)
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานโดยใช้หลักในการคำนวณแบบลูกคิด
หรือหลักการนับ และทำงานกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง ลักษณะการคำนวณจะแปลงเลขเลขฐานสิบก่อน
แล้วจึงประมวลผลด้วยระบบเลขฐานสอง แล้วให้ผลลัพธ์ออกมาอยู่ในรูปของตัวเลข ซึ่งคอมพิวเตอร์จะแปลงเป็นเลขฐานสิบเพื่อแสดงให้ผู้ใช้เข้าใจง่าย
มีความสามารถในการคำนวณและมีความแม่นยำมากกว่าอนาลอกคอมพิวเตอร์ สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากจึงต้องใช้สื่อในการบันทึกข้อมูล
เช่น จานแม่เหล็ก และเทปแม่เหล็ก เป็นต้น เนื่องจากดิจิทัลคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่าง
ๆ เป็นมาตรฐานเดียวกันและใช้กับงานได้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ทำให้ดิจิทัลคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาให้สามารถทำงานได้เหมาะสมกับสภาพงานทั่ว
ไป เช่น งานพิมพ์เอกสาร งานคำนวณ งานวิจัยเปรียบเทียบค่าทางสถิติ งานบันทึกนัดหมาย
งานส่งข้อความในรูปเอกสาร ภาพและเสียง ตลอดจนงานกราฟิกเพื่อนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ
เป็นต้น
3. ไฮบริดคอมพิวเตอร์ (Hybrid Computer)
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้กับงานเฉพาะด้าน
มีประสิทธิภาพสูงและสามารถทำงานที่ซับซ้อนได้ เนื่องจากการนำเทคนิคการทำงานของอนาลอกคอมพิวเตอร์และดิจิทัลคอมพิวเตอร์มา
ใช้งานร่วมกัน เช่น การส่งยานอวกาศขององค์การนาซา จะใช้เทคนิคของอนาลอกคอมพิวเตอร์ในการควบคุมการหมุนของตัวยานอวกาศ
ซึ่งเกี่ยวข้องกับความกดดันอากาศ อุณหภูมิ ความเร็ว และใช้เทคนิคของดิจิทัลคอมพิวเตอร์ในการคำนวณระยะทางจากพื้นผิวโลก
เป็นต้น
ประเภทของคอมพิวเตอร์แบ่ง
ได้ 5
ประเภท คือ
1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer)

2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)

3. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)

4. สถานีงานวิศวกรรม
ผู้ ใช้สถานีงานวิศวกรรมส่วนใหญ่เป็นวิศวกร
นักวิทยาศาสตร์ สถาปนิก และนักออกแบบ สถานีงานวิศวกรรมมีจุดเด่นในเรื่องกราฟิก
การสร้างรูปภาพและการทำภาพเคลื่อนไหว
การเชื่อมโยงสถานีงานวิศวกรรมรวมกันเป็นเครือข่ายทำให้สามารถแลกเปลี่ยน ข้อมูลและใช้งานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์หลายบริษัทได้พัฒนาซอฟต์แวร์สำเร็จสำหรับใช้กับสถานีงานวิศวกรรมขึ้น
เช่นโปรแกรมการจัดทำต้นฉบับหนังสือ
การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์งานจำลองและคำนวณทางวิทยาศาสตร์
งานออกแบบทางด้านวิศวกรรมและการควบคุมเครื่องจักร
การซื้อสถานีงานวิศวกรรมต่างจากการซื้อเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถใช้โปรแกรมสำเร็จสำหรับไมโครคอมพิวเตอร์ได้
และมีลักษณะการใช้งานเหมือนกัน ส่วนการซื้อสถานีงานวิศวกรรมนั้นยุ่งยากกว่า
สถานีงานวิศวกรรมมีราคาแพงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์มาก
การใช้งานก็ต้องการบุคลากรที่มีการฝึกหัดมาอย่างดี หรือต้องใช้เวลาเรียนรู้
สถานีงานวิศวกรรมส่วนใหญ่ใช้ระบบปฎิบัติการยูนิกซ์
ประสิทธิภาพของซีพียูของระบบอยู่ในช่วง 50-100 ล้านคำสั่งต่อวินาที
(Million Instruction Per Second : MIPS) อย่างไรก็ตามหลักจากที่ใช้ซีพียูแบบริสก์
(Reduced Instruction Set Computer :RISC) ก็สามารถเพิ่มขีดความสามารถเชิงคำนวณของซีพียูสูงขึ้นได้อีก
ทำให้สร้างสถานีงานวิศวกรรมให้มีขีดความสามารถเชิงคำนวณได้มากกว่า 100 ล้านคำสั่งต่อวินาที
5. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก
ราคาถูกสามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal
Computer หรือ PC)สามารถ แบ่ง แยก ไมโคร คอมพิวเตอร์ ตาม ขนาด ของเครื่องได้ ดัง นี้
คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (desktop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กถูกออกแบบมาให้ตั้งบนโต๊ะ
มีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแผงแป้งอักขระ
โน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (notebook
computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดและความหนามากกว่าแล็ปท็อป
น้ำหนักประมาณ 1.5-3 กิโลกรัม
จอภาพแสดงผลเป็นแบบราบชนิดมีทั้งแบบแสดงผลสีเดียว หรือแบบหลายสี
โน้ตบุ๊คที่มีขายทั่วไปมีประสิทธิภาพและความสามารถเหมือน
กับแล็ปท็อป
กับแล็ปท็อป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น