วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

บทที่ 9 การติดตั้งระบบปฎิบัติการ Windows XP

วิธีการติดตั้ง Windows XP ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ ดังนี้
1. ติดตั้งแบบอัพเกรดจาก Windows ตัวเดิม โดยใส่แผ่น CD และเลือกติดตั้งจาก CD นั้นได้เลย
2. ติดตั้งโดยการบูตเครื่องใหม่จาก CD ของ Windows XP Setup และทำการติดตั้ง
3. ติดตั้งจากฮาร์ดดิสก์ โดยทำการ Coppy ไฟล์ทั้งหมดจาก CD ไปเก็บไว้ในฮาร์ดิสก์ ก่อนทำการติดตั้ง


ขั้นตอนการติดตั้ง Windows XP
เริ่มต้น โดยการเซ็ตให้บูตเครื่องจาก CD-Rom Drive ก่อน โดยการเข้าไปปรับตั้งค่าใน bios ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเลือกลำดับการบูต ให้เลือก CD-Rom Drive เป็นตัวแรก
ทำการปรับเครื่อง เพื่อให้บูตจาก CD-Rom ก่อน จากนั้นก็บูตเครื่องจากแผ่นซีดี Windows XP Setup โดยเมื่อบูตเครื่องมา จะมีข้อความให้กดปุ่มอะไรก็ได้ เพื่อบูตจากซีดีก็กด ก็เคาะ Enter เพื่อเริ่มการบูต
 
 

โปรแกรมจะทำการตรวจสอบเช็กข้อมูล ซึ่งใช้เวลานานพอสมควร


 เข้ามาสู่หน้า Welcome to setup กดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้ง Windows XP 



 หน้าของ Licensing Agreement กดปุ่ม F8 เพื่อยอมรับเงื่อนไขต่าง ๆ และทำการติดตั้ง

ทำการเลือก Drive ของฮาร์ดิสก์ที่จะลง Windows XP แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้ง

 เลือกชนิดของระบบ FAT ที่จะใช้งานกับ Windows XP หากต้องการใช้ระบบ NTFS ก็เลือกที่ข้อบน
แต่ถ้าจะใช้เป็น FAT32 หรือของเดิม ก็เลือกข้อสุดท้าย (no changes) ถ้าไม่อยากวุ่นวาย แนะนำให้เลือก FAT32
โปรแกรมจะเริ่มต้นขึ้นตอนการติดตั้ง
หลังจากนั้นโปรแกรมจะทำการ Restat เครื่องใหม่อีกครั้ง (ให้ใส่แผ่นซีดีไว้ในเครื่องแบบนั้นแต่ไม่ต้องการกดปุ่มใด ๆ เมื่อบูตเครื่องใหม่ ปล่อยให้โปรแกรมทำงานไปเอง)

โปรแกรมจะเริ่มขั้นตอนการติดตั้งต่าง ๆ

จะมีเมนูของการให้เลือก Regional and Language ให้กดปุ่ม Next 
ใส่ชื่อและบริษัทของผู้ใช้งานใส่เป็นอะไรก็ได้ แล้วกดปุ่ม Next
ทำการใส่ Product Key (จะมีในด้านหลังของแผ่นซีดี) แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้ง
หน้าจอให้ใส่ Password ของ Admin ให้ปล่อยว่าง ๆ ไว้แบบนี้แล้วกดปุ่ม Next
เลือก Time Zone ให้เป็นของไทย (GMT+07:00) Bangkok,Hanoi,Jakart แล้วกดปุ่ม Next
รอสักพัก จนกระทั่งขั้นตอนต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อย ก็พร้อมแล้วสำหรับการเข้าสู่ระบบปฎิบัติการ Windows XP จะมีการบูตเครื่องใหม่อีกครั้ง เพื่อเริ่มต้นการใช้งานจริง ๆ
เมื่อโปรแกรมติดตั้งทำการบูตเครื่องใหม่คราวนี้ อาจจะปรากฏเมนู  ซึ่งเป็นการเลือกว่าเราจะบูตจากระบบ Windows ตัวเก่าหรือจาก Windows XP ก็เลือกที่ Microsoft Windows XP Professional ถ้าไม่ปรากฎเมนูดังนี้ก็ไม่เป็นไร
เริ่มต้นบูตเครื่อง เข้าสู่ระบบปฎิบัติการ Windows XP
เมื่อบูตเครื่องเข้าสู่ระบบ Windows XP แล้วจะมีการให้กรอกชื่อ User Name ในครั้งแรกให้กรอกชื่ออะไรก็ได้ แล้วกดปุ่ม Next ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนการติดตั้ง Windows XP แล้ว

บทที่ 8 อุปกรณ์ต่อพ่วง


อุปกรณ์ต่อพ่วง     หมายถึง  อุปกรณ์ต่างๆที่สามารถต่อเข้ากับอุปกรณ์ของหน่วยประมวลผลกลางและประกอบเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานได้

อุปกรณ์ต่อพ่วงแต่ละชนิดมีคุณลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1.แผงพิมพ์อักขระ
เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลจากการกดแป้นจากนั้นก็เปลี่ยนรหัสแล้วส่งไปยังประมวลผลกลาง แป้นพิมพ์โดยทั่วไปมี  50  แป้นขึ้นไปแบ่งเป็นแป้นตัวเลขและแป้นอักขระ
2.เมาส์ 
เป็นอุปกรณ์ประเภทตัวชี้ที่ได้รับข้อมูลจากการกดปุ่มข้างบนเมาส์ ทำหน้าที่คลิกปุ่มคำสั่งที่ต้องการ  แบ่งเป็น ประเภท
2.1  เมาส์ทางกล


2.2  เมาส์แบบใช้แสง
3.อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค    
เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่สามารถติดกับตัวโน๊ตบุ๊ค สะดวกในการพกพา  ซึ่งมี 3ประเภท
3.1ลูกกลมควบคุม
3.2แท่งชี้ควบคุม
3.3แผ่นรองสัมผัส
4.ก้านควบคุม เป็นอุปกรณ์ควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนหน้าจอ มีลักษณะเป็นก้านโผล่ออกมาจากกล่อง
5.จอสัมผัส
เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลจากการสัมผัสโดยเมื่อมีการเลือกตำแหน่งที่ถูกเลือกจะแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังซอฟต์แวร์ที่แปลคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
6.อุปกรณ์รับเข้าแบบกราดตรวจ  ที่นิยมใช้มีอยู่ 3ประเภท
6.1 เครื่องอ่านรหัสแท่ง อุปกรณ์รับเข้าที่ทำงานโดยหลักการของการสะท้อนแสง  เครื่องจะส่องลำเสียงไปยังรหัสบนสินค้าจากนั้นจะเปลี่ยนรหัสเป็นสัญญาณไฟฟ้าผ่านสายที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
6.2 เครื่องกราดตรวจหรือสแกนเนอร์ เป็นอุปกรณ์รับเข้าประเภทรูปภาพและข้อความที่อยู่บนสิ่งพิมพ์โดยใช้หลักสะท้อนแสง  ข้อมูลจะถูกแปลงในแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจและเก็บไว้ในหน่วยความจำ
6.2กล้องดิจิทัล ทำงานเหมือนกล้องถ่ายรูปทั่วไปแต่ไม่ต้องมีฟิล์มและมีคอมแพ็กแฟลช
7.เว็บแคม
เป็นอุปกรณ์รับเข้าประเภทกล้องวีดีโอที่สามารถบันทึกภาพเคลื่อนไหวผ่านเว็บไซค์แล้วปรากฎบนหน้าจอได้

8.จอภาพ มีชนิด
1.จอภาพแบบซีอาร์ที มีลักษณะเหมือนจอโทรทัศน์  ทำงานโดยเทคโนโลยีหลอดรังสีอิเล็กตรอน  โดยยิงอิเล็กตรอนไปยังผิวด้านในจอเมื่อลำแสงวิ่งมาชนจะเกิดแสงสว่างขึ้น
2.จอภาพแบบแอลซีดี   ทำงานโดยอาศัยการเบี่ยงเบนแสงตามการควบคุมทิศทางของโพราไลเซชั่นของวัตถุที่กั้นระหว่างแหล่งกำเนิดแสงและแผ่นเคลือบสารเรืองแสง  ป้องแรงดันเข้าไปยังแผ่นเพลตเมื่อได้รับแรงดันไฟฟ้า  มีผลให้แสดงจากแหล่งกำเนิดสามารถผ่านทะลุกระทบกับสารเรืองแสงจนเกิดแสงสีที่ต้องการ
9. ลำโพง
เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลเป็นเสียงโดยใช้งานคู่กับการด์เสียงซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นอะนาล็อกแล้วส่งไปยังลำโพง

10.หูฟัง
เป็นอุปกรณ์ส่งออกใช้ฟังเพลงจากคอมพิวเตอร์  ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณจากไฟฟ้าเป็นเสียง  มีทั้งชนิดไร้สายและมีสาย บางรุ่นก็จะมีไมโครโฟนสำหรับสนทนาผ่านอินเตอร์เน็ตอีกด้วย         

11.  เครื่องพิมพ์  

เป็นอุปกรณ์ส่งออกที่แสดงผลงานพิมพ์ลงบนกระดาษ แบบเครื่องพิมพ์
11.1เครื่องพิมพ์แบบจุด
11.2เครื่องพิมพ์เลเซอร์
11.3เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก
11.4พล็อตเคอร์
12.  โมเด็ม
  เป็นการแปลงสัญญาณเพื่อให้ติดต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้โดยเชื่อมต่อคอมเข้ากับคู่สายของโทรศัพท์   แล้วโมเด็มก็จะแปลงจากสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณอะนาล็อก
 13.เคส
 คือ โครงหรือกล่องสำหรับประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ไว้ภายใน การเรียกชื่อ และขนาด ของเคสจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งในปัจจุบันมีหลายแบบที่นิยมกัน แล้วแต่ผู้ซื้อจะเลือกซื้อตามความเหมาะสม ของงาน และสถานที่นั้น

14. พาวเวอร์ซัพพลาย
   เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอ


  15.เมนบอร์ด
แผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆมาไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด มีลักษณะเป็นแผ่น รูปร่างสี่เหลี่ยมแผ่นที่ใหญ่ที่สุดในพีชี ที่จะรวบรวมเอาชิปและไอชี (IC = Integrated Circuit) รวมทั้ง การ์ดต่อพ่วงอื่นๆ เอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงอันเดียวเครื่องพีชีทุกเครื่องไม่สามารถทำงาน ได้ถ้าขาดเมนบอร์ด

16.ซีพียู     ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor)หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลจากข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ส่วน คือ


      17. การ์ดแสดงผล
     การ์ดแสดงผลใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู โดยที่การ์ดบางรุ่นสามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู จึงทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย ซึ่งตัวการ์ดแสดงผลนั้นจะมีหน่วยความจำในตัวของมันเอง ถ้าตัวการ์ดมีหน่วยความจำมาก ก็จะรับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้นด้วย



  18.แรม
     RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำหลักแต่ไม่ถาวร ซึ่งจะต้องมีไฟมาหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ตลอดในการทำงาน โดยถ้าเกิดไฟฟ้ากระพริบหรือดับ ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไปทันที


  19. ฮาร์ดดิสก์     เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ โดยฮาร์ดดิสค์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกนอก เป็นโลหะแข็ง และมีแผงวงจรสำหรับการควบคุมการทำงานประกบอยู่ที่ด้านล่าง พร้อมกับช่องเสียบสายสัญญาณและสายไฟเลี้ยง ส่วนประกอบภายในจะถูกปิดผนึกไว้อย่างมิดชิด โดยฮาร์ดดิสค์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) สองแผ่นหรือมากกว่ามาจัด เรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียก Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อนของมอเตอร์ แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่านเขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่านเขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งอินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ในปัจจุบัน มีอยู่ ชนิดด้วยกัน 

20.  ฟล็อปปี้ดิสก์
     เป็นอุปกรณ์ที่กำเนิดมาก่อนยุคของพีซีเสียอีก โดยเริ่มจากที่มีขนาด นิ้ว กลายมาเป็น5.25 นิ้ว จนมาถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 3.5 นิ้ว ในส่วนของความจุเริ่มต้นตั้งแต่ไม่กี่ร้อยกิโลไบต์มาเป็น 1.44 เมกะไบต์ และ 2.88 เมกะไบต์ ตามลำดับ


21.เครื่องสแกนภาพ (Scanner)
                  สแกนเนอร์ (Scanner) คืออุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของ อนาล็อกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถแสดง เรียบเรียง เก็บรักษาและผลิต ออกมาได้ ภาพนั่นอาจจะเป็น รูปถ่าย ข้อความ    ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ สามารถใช้สแกนเนอร์ทำงานต่างๆ  ได้ดังนี้ 

บทที่ 7 โมเด็มและการ์ดเสียง

โมเด็ม (Modem))
เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร และรับส่งข้อมูลกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่อง โอยอาศัยตัวกลางจำพวกสายโทรศัพท์และสาย Fiber Optic ในการส่งผ่านข้อมูล หลักการทำงานโดยคร่าวของโมเด็มก็คือ เปลี่ยนข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบของสัญญาณดิจิตอลให้เป็นสัญญาณเสียงเพื่อให้สามารถส่งผ่านไปตามสายโทรศัพท์ได้ และในทางกลับกันก็รับเอาสัญญาณเสียงที่ถูกส่งผ่านมาตามสายโทรศัพท์จากโมเด็มอีกฟากหนึ่งมาแปลงกลับให้เป็นข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณดิจิตอลแบบเดิม ปัจจุบันโมเด็มที่มีวางขายและใช้งานกันโดยทั่วไป ถ่าแบ่งออกตามเทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลจะแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ

Dial-Up Modem (56K Dial-UP)

ป็นโมเด็มแบบอนาล็อคที่ใช้ในการรับส่งสัญญาณผ่านระบบโทรศัพท์แบบธรรดา เวลาเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในแต่ละครั้งจำเป็นจะต้องหมุนหมายเลขโทรศัพท์ไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เร็ต (ISP) ด้วย มาตราฐานล่าสุดที่ใช้กันในปัจจุบัน คือ V.92 ซึ่งให้ Bit Rate หรืออัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดที่ 56/33.6 Kbps (รับข้อมูลขาลงจากอินเทอร์เน็ต หรือ Download ที่ความเร็ว 56 Kbps และส่งข้อมูล ขาขึ้น Upload ที่ความเร็ว 33.6 Kbps)



ADSL Modem (High-Speed Internet)
เป็นโมเด็มแบบดิจิตอลที่ใช้เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารและรับส่งข้อมูลกันด้วยระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนคู่สายโทรศัพท์แบบะรรดา โดยเลือกใช่ย่านความถี่ที่ไม่มีในการใช้งานอินเทอร์น็ต (โมเด็มแบบDial-Up ในระหว่างใช้งานอินเทอร์เน็ตจะำม่สามารถใช้โทรศัพท์ปกติไปพร้อมๆกันได้) อีกทั้งเวลาเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในแต่ละครั่งก็ไม่จำเป็นต้องหมุนหมายเลขโทรศัพท์เหมือนกับ56k Dial-Up อีกด้วยปัจจุบันเทคโนโยยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (Hing-Speed Internet) และโมเด็มของ ADSL นี้กำลังเป็นที่นิยมและได้กลายเป็นมาตรฐานที่ใช้งานกันโดยทั่วไป ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกใช้ความเร็วได้ตามต้องการจากผ๔้ให้บริการอินเทอร์เน็ต(ISP) เช่น 256/128, 512/256 และ 1024/512 Kbps เป็นต้น โดยแต่ละความเร็วจะมีอัตราค่าบริการแต่กต่างกันไปสำหรับอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดด้วยระบบ ADSL ในปัจจุบันจะอยู่ที่ 8192/1024 Kbps หรือก็คือ รับส่งข้อมูลขาลงจาก ISP (Download) ด้วยความเร็วสูงสุด 16 Mbps และส่งข้อมูลขาขึ้นไปหา ISP (Uplpad) ด้วยความเร็วสูงสุด 1 Mbps
รูปแบบของโมเด็ม



การ์ดแสดงสัญญาณเสียง (Sound Card)
ป็นอุปรณ์สร้างและจัดการกับระบบเสียงทั้งหมดภายในเครื่ิองพีซี เช่น เล่นไฟล์เสียงในรูปแบบต่างๆ, เสียงดนตรีตามคำสั่งแบบ MIDI , บันทึกและแปลงเสียงลงเป็นไฟล์แบบดิจิตอล, ตลอดจนผสม (Mix) เสียงจากหลายๆแห่งที่มาเข้าด้วยกัน เป็นต้น

ส่วนประกอบของก
าร์ดเสียง

A*อินเตอร์เฟส เป็นส่วนที่เชื่อมต่อเข้ากับสล็อตบนเมนบอร์ด ปัจจุบันซาวด์การ์ดแทบทุกรุ่นจะใช้อินเตอร์เฟสที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบบัสแบบ PCI แทบทั้งสิ้น
B*Synthesizer เป็นชิปตัวประมวลผลหลักที่ทำหน้าที่สร้างหรือสังเคราะห์สัญญาณเสียงขึ้นมาตามคำสั่งที่ได้รับ โดยใช้การสังเคราะห์แบบ FM หรือแบบ Wavetable
C*Digital I/O Connector เป็นช่องที่ใช้เชื่อมต่อกับการ์ด Digital I/O
D*AUX Connector เป็นช่างที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์จำพวกการ์ด TV Tuner หรือ MPEG2 Decoder เป็นต้น
E*Telephone Answering Device Connector เป็นช่องที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ Voice Modem เพื่อรับส่งและส่งสัญญาณเสียงกับโมเด็ม
F*Analog/Digital Out jack เป็นช่องที่ใช่เชื่อมต่อเข้ากับลำโพง Center และ Sub-woofer หรือใช้สัญญาณเสียงไปยังอุปกรณ์ที่ทำงานด้วยระบบดิจิตอล
G*Line In jack เป็นช่องที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกเเพื่อรับสัญญารเสียงเข้าสู้การ์ด เช่น เครื่องเล่นเทป และเครื่องเล่นมินิดิสก์ เป็นต้น
H*Microphone In jack เป็นช่องที่ใช้เสียบเข้ากับอุปกรณ์จำพวกไมโครโฟน เพื่อใช้ในการบันทึกเสียงหรือแปลงสัญาณเสียงไปเป็นไฟฟ้า (ลนาล็อก-สเตอริโอ)
I*Line Out jack เป็นช่องที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับชุดลำโพงแบบ 5.1 Channel โดยใช้เชื่อมต่อเข้ากับลำโพงคู่หลัง (ซ้าย-ขวา)
K*MID/Joystick Connector เป็นช่องที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ MIDI หรืออุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมการเล่นเกมเช่น Joystick และบังคับพวกพวงมาลัย เป็นต้น

บทที่ 6 การ์ดแสดงผล

การ์ดแสดงผล หรือ การ์ดจอ (video card หรือ display card) เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลเกี่ยวกับการแสดงผลจากหน่วยความจำ มาคำนวณและประมวลผล จากนั้นจึงส่งข้อมูลในรูปแบบสัญญาณเพื่อนำไปแสดงผลยัอุปกรณ์แสดงผล (มักเป็นจอภาพ)

ประเภทของการ์แสดงผล

1.AGP(Accelerated Graphics Port)







2.PCI Express 





การทำงานของการ์แสดงผล
ถ้าคุณซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์สักตัวก็จะได้รับจอภาพพร้อมกับการ์ดแสดงผลที่ติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์มาด้วย (การ์ดแสดงผลมักจะเสียบอยู่กับช่องเสียบการ์ดแสดงผลภายในเครื่องคอมพิวเตอร์    แต่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์บางรุ่นที่การ์ดแสดงผลเชื่อมอยู่บนกระดานระบบ)
ข้อควรระวัง  ในกรณีที่คุณต้องการเปลี่ยนจอภาพ ควรจะถามผู้ขายด้วยว่ามีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนการ์ดแสดงผลด้วยหรือไม่ เพราะจอภาพบางรุ่นจำเป็นต้องใช้ควบคูกับการ์ดแสดงผลเฉพาะรุ่น
 (การแสดงผล  {มักจะเรียกว่าวิดีโอการ์ด}  จะทำงานคู่กันกับจอภาพ)

                จอภาพแบบมัลติสแกน  (Multiscan monitor)  จะสามารถทำงานร่วมกับการ์ดแสดงผลได้หลากหลายรุ่น  ข้อดีของจอภาพแบบนี้ก็คือ  ในกรณีที่คุณเปลี่ยนการ์ด  แสดงผลใหม่  คุณก็สามารถใช้จอภาพชนิดนี้ต่อเชื่อมได้ทันที  โดยไม่ต้องเปลี่ยนจอภาพใหม่เหมือนกับการ์ดแสดงผลบางรุ่น  แต่ข้อเสียของจอภาพแบบนี้ก็คือมีราคาแพง
บางครั้งคุณอาจจะได้ยินคนบานเรียกการ์ดแสดงผลว่า  การ์กากราฟิก”(Graphic board)  หรืออาจจะเรียกว่า  ตัวแปลงสัญญาณกราฟิก”  (Graphic adapter)  หรือแม้แต่ตัวแปลงสัญญาณวิดีโอ  (Video adapter)  หรือวิดีโอบอร์  (Video board)  ไม่ต้องสับสนทุกคำล้วนหมายถึงการ์ดแสดงผลทั้งสิ้น

สี

คุณต้องการสีสันบนจอภาพหรือไม่  ถ้าใครต้องการ คำแนะนำของผมก็คือ  ซื้อจอภาพสีซะถึงแม้ว่าคุณจะต้องใช้เวลากับการทำงานบนโปรแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์  โปรแกรมบัญชีและพิมพ์ออกมาในแบบขาวดำ  แต่ถ้าคุณมีจอภาพสีคุณจะรู้สึกถึงความสนุกสนาน และความง่ายในการใช้งานมากกว่าใช้จอภาพขาวดำ   ไม่ว่าจะเป็นโปรดแกรมเวิร์ดโปรดเซสเซอร์โปรดแกรมกระดานอีเล็กทรอนิกส์  หรือโปรแกรม   อื่นใดก็ตามจอภาพสีมอบความสบายให้กับคุณมากกว่า เช่น  คุณจะสามารถเห็นตัวอักษรที่เลือกได้ง่ายกว่า หรือเมื่อคุณมีตัวเลขติดลบบนกระดานอิเล็กทรอนิกส์     โปรแกรมก็จะแสดงตัวเลขนั้นออกบนจอภาพในรูปแบบของตัวเลขสีแดง เป็นต้น และที่สำคัญที่สุด จอภาพสีได้รับความนิยมในการใช้งานสูงการซ่อมแซมทำได้ง่าย และ  ราคาถูกกว่า

ความละเอียด

ความละเอียดของจอภาพขึ้นอยู่กับจำนวนจุดแสงที่มีอยู่บนจอภาพ  (ซึ่งเรียกว่า    พิกเซล” (Pixel)  มาจากคำว่า  Picture elements)  จอภาพที่มีความละเอียดสูงจะทำให้คุณมองภาพที่อยู่บนจอได้ง่าย  และเห็นรายละเอียดต่าง ๆ อย่างชัดเจน
ทุกวันนี้มาตรฐานต่ำสุดของจอภาพสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความ -สามารถเหมือนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทไอบีเอ็ม (IBM  compatible) ก็คือ   จอภาพแบบ  VGA  (มาจาก  Video Graphic Array)  จอภาพแบบนี้สามารถแสดงผลได้ที่ความละเอียด 640  พิกเซลทางด้านแนวนอน และ  480  พิกเซลทางด้านแนวตั้ง   แต่อย่างไรก็ตาม เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการวางขายในปัจจุบันมักจะขายพร้อมกับจอภาพในแบบ  SVGA  (Super  VGA)  ซึ่งจะสามารถแสดงผลได้ที่ความละเอียด  800  คูณ  600  พิกเซล หรือ  1,024 คูณ  768  พิกเซล ขึ้นอยู่กับโปรม-แกรมที่ใช้งาน และถ้าคุณต้องการที่จะใช้งานโปรแกรมมัลติมีเดียคุณควรจะเลือกใช้จอภาพแบบ  SVGA  เพราะว่าโปรดแกรมมัลติมีเดียส่วนมากต้องการจอภาพในแบบ  SVGA (จอภาพ  SVGA  จะสามารถทำงานในโหมด  VGA  ได้ดีเท่า ๆ กับจอภาพแบบ  VGA)

 

ขนาด

จอภาพมาตรฐานทั่วไปมักจะมีขนาด  14  นิ้ว  (วัดตามเส้นทแยงมุมเหมือนการวัด   ขนาดโทรทัศน์)  แต่ถ้าคุณมีกำลังซื้อมาก  คุณอาจจะซื้อจอภาพที่มีขนาด  15  นิ้ว,  16  นิ้ว, 17  นิ้ว  เพราะว่าจอภาพยิ่งมีขนาดใหญ่ก็จะแสดงผลต่าง ๆ บนจอกภาพได้มากขึ้น มองเห็นได้ชัดขึ้น
จอภาพที่ใหญ่ที่สุดที่มีการผลิตจำหน่ายในปัจจุบัน  มักจะนิยมผลิตขนาด    20  นิ้ว, 21  นิ้ว และ  24  นิ้ว  จอภาพยิ่งมีขนาดใหญ่ก็ยิ่งมีราคาแพงมากขึ้น  ข้อดีของจอภาพขนาดใหญ่ก็คือมองเห็นภาพขนจอได้ชัดเจน สามารถแสดงข้อมูล  บนจอภาพได้มกกว่าจอภาพธรรมดาเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องทำงานกับกระดานอิเล็กทรอนิกส์ที่มีปริมาณข้อมูลมาก ๆ  เพราะจะเห็นข้อมูลทั้งหมดได้ในเวลาเดียวกัน แต่มิใช่ว่าจอภาพขนาดใหญ่จะมีแต่ข้อดี ข้อเสียก็มีเหมือนกัน ข้อเสียของจอภาพขนาดใหญ่ก็คือ ราคาแพง นอกจากนั้นยังใช้เนื้อที่บนโต๊ะมาก และอาจมีความสว่างในการแสดงผลมากเกินไปสำหรับบางคน อาจจะทำให้แสบตา ซึ่งผู้เขียนก็ไม่ได้   ต้องการให้ผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องซื้อจอภาพใหญ่ ๆ มาใช้ ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคนมากกว่า

คุณภาพของภาพ


มีหลายปัจจัยที่เราจะต้องใช้เมื่อเวลาที่เราต้องการจะตัดสินว่าจอภาพใดมีคุณภาพ     มากกว่ากันสิ่งที่สำคัญที่สุด  และต้องให้ความสำคัญกับมันมากกว่าอย่างอื่น  เมื่อ   ต้องการจะตัดสินถึงคุณภาพของจอภาพก็คือ ระยะห่างระหว่างจุด  (dot pitch),     อัตราการสร้างภาพใหม่ในแนวตั้ว  (vertical refresh rate)  และการเต้นของภาพ   (interlacing)  และสิ่งสุดท้าย แต่ไม่ท้ายสุดก็คือ  ความชอบของตัวผู้ซื้อ  ระยะห่างระหว่างจุดจะใช้สำหรับการวัดคุณภาพของจอภาพสีเท่านั้น  ซึ่งระยะห่างระหว่าง   จุดนี้จะบ่งบอกถึงความละเอียดของแต่ละพิกเซลบนจอภาพ จอภาพที่มีระยะห่างระหว่างจุดน้อย จะแสดงภาพบนจอภาพได้ดีกว่าจอภาพที่มีระยะห่างระหว่างจอภาพมาก จอภาพขนาด  14  นิ้ว ควรจะมีระยะห่างระหว่างจุดประมาณ  0.28  หรือน้อยกว่า ในขณะที่จอภาพใหญ่อาจจะมีค่าระยะห่างระหว่างจุดมากกว่าจอภาพ  14  นิ้ว
เล็กน้อย อย่างไรก็ตามจงอย่าตกเป็นเหยื่อของผู้ขายถ้าพวกเขาเหล่านั้นเสนอขายจอภาพที่มีระยะห่างระหว่างจุดสูง ๆ ในราคาที่ถูกกว่าจอภาพที่มีระยะห่างระหว่าง จุดต่ำ ๆ พวกเข้าเหล่านั้นมักจะมีวิธีที่ทำให้คุณหลงเชื่อว่า  จอภาพที่มีระยะห่างระหว่างจุดต่ำ ๆ สามารถแสดงผลได้ชัดเจนเทียบเท่ากับจอภาพที่มีระยะห่างระหว่างจุดสูง ๆ โดยพวกเขาเหล่านั้นมักจะแสดงให้คุณดูในภาพกราฟิก และชี้ให้คุณเห็นว่าไม่มีความแตกต่างในการแสดงผลแบบกราฟิก แต่สิ่งที่วัดคุณภาพ หรือความละเอียดของจอภาพไม่ได้วัดจากการที่จอภาพสามารถแสดงภาพกราฟิกบนจอได้ชัดเจน   มากน้อยเพียงไร  และถ้าคุณต้องการจะดูว่าจอภาพดังกล่าวมีคุณภาพมากน้อย   เพียงไร  ให้ดูจากความคมชัดของตัวอักษรที่แสดงบนจอภาพ

                ส่วนอัตราการสร้างภาพใหม่ในแนวตั้งของจอภาพ จะแสดงให้คุณทราบถึง     จำนวนวครั้งที่จอภาพทำการกวาดเส้นสร้างภาพจากตำแหน่งบนสุดของจอภาพ ไปถึงตำแหน่งล่างสุดของจอภาพต่อวินาที  จอภาพที่มีค่านี้ยิ่งมากเท่าไรยิ่งมีคุณภาพดีมากเท่านั้น อัตราการสร้างภาพนี้จะมีหน่วยเป็นเฮิรตซ์  (Hz)  จอภาพส่วนใหญ่จะมีอัตราการสร้างภาพที่  60  ครั้งต่อนาที่ (60  Hz)  ซึ่งเรียกว่าดีพอสำหรับการแสดงผลตัวอักษร แต่อาจจะไม่ค่อยดีสำหรับการแสดงผลในแบบกราฟิก  ซึ่งเป็นหัวใจหลักของวินโดวส์และโปรดแกรมใช้งานที่ทำงานภายใต้วินโดวส์โดยทั่วไป  ซึ่งควรจะใช้จอภาพในแบบ  SVGA  ซึ่งมีอัตราการแสดงผลที่  72  Hz

                การเต้นของภาพเกิดจากกระบวนการสร้างภาพบนจอภาพ  จอภาพที่มี     การเต้น  (Interlaced monitor)  เกิดจากการหลอดภาพของจอภาพชนิดนี้จะต้องกวาดลำแสงสองครั้งเพื่อสร้างภาพ  (เหมือนกับโทรทัศน์)  แต่สำหรับจอภาพที่มี    การกวาดลำแสงในการสร้างภาพเพียงครั้งเดียว  จะให้ภาพที่นิ่งกว่าและระคายเคือง  ตาเวลาทำงานหน้าจอภาพนาน ๆ น้อยกว่า เราเรียกจอภาพแบบนี้ว่า “noninterlaced monitor”

                ดังนั้น  ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อจอภาพ กรุณาบอกให้คนขายลองจอภาพให้ดู       ประกอบการพิจารณา  โดยให้ทางคนขายเปิดโปรแกรมที่ใช้งานโดยทั่วไป เช่น    โปรดแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์ โปรแกรมกระดานอเล็กทรอนิกส์  โปรดแกรมวาดภาพโปรแกรมมัลติมีเดียจากซีดีรอมหรือเกม รวมทั้งภาพเคลื่อนไหว  แล้วให้สังเกตดู  ทั้งคุณภาพของตัวอักษร และรูปภาพบนจอภาพว่าแสบตาหรือไม่  รวมทั้งมีความคมชัดเป็นที่น่าพอใจหรือไม่  สำหรับวิธีที่ดีที่สุดในการดูว่าคุณภาพของภาพเป็นอย่างไร ให้ลองดูตัวอักษรสีขาวบนพื้นสีดำ ซึ่งจะบ่งบอกถึงคุณภาพของจอภาพได้ง่าย และตรงมากที่สุด

ท้ายสุดสำหรับการซื้อจอภาพก็คือความพึงพอใจของผู้ซื้อ  ถ้าคุณมองแล้วชอบก็ซื้อไปเถอะ  เพราะคุณเป็นคนที่รู้ดีที่สุดว่าจอภาพที่คุณเห็น  คุณภาพของภาพที่เห็นคุณพอใจหรือไม่  ผู้ซื้อบางคนาจะชอบยืดติดกับยี่ห้อ  สำหรับคนเขียนก็เป็น  คนหนึ่งที่ยืดติดกับยี่ห้อเหมือนกัน ผู้เขียนมักชอบที่จะใช้จอภาพของ  Sony, NEC หรือไม่ก็ของ  Philip  ถึงแม้ว่าคุณภาพของจอเหล่านี้จะมีคุณภาพที่ดีกว่าจอภาพ    อื่น ๆ  แต่ขอเสียก็อยู่ตรงที่มีราคาแพง  แต่ก็คุ้มค่ากับความสามารถของมันที่จะมอบให้กับเรา  คำแนะนำสุดท้ายของผมเกี่ยวกับซื้อจอภาพก็คือ  ซื้อจอภาพที่ทำให้คุณรู้สึกว่าคุณเกิดมาเพื่อใช้จอภาพนั้น  ผมชอบที่จะสั่งซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์จากหนังสือแค็ตตาล็อก  แต่ไม่มีวันที่จะซื้อจอภาพจากแค็ตตาล็อกเพราะผมจะไม่มีโอกาสเห็นคุณภาพของมันก่อนที่จะซื้อ

บทที่ 5 ฮาร์ดดิสก์

การทำงานของฮาร์ดิสก์
แพล็ตเตอร์ของฮาร์ดิสก์ นั้นจะเคลือบไปด้วยวัตถุจำพวกแม่เหล็ก ที่มีขนาดความหนา เพียง 2-3 ใน
ล้านส่วนของนิ้ว แต่จะต่างจากเทปทั่วไปคือ ฮาร์ดิสก์นั้นจะใช้หัวอ่านเพียงหัวเดียวในการทำงาน ทั้งอ่าน
แบะเขียนข้อมูลบนฮาร์ดิสก์ และเขียนข้อมูลลงบนฮาร์ดิสก์นั้นหัวอ่านจะได้รับกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าสู่คอยล์ของหัวอ่าน เพื่อสร้างรูปแบบแม่เหล็กบนสื่อ ที่เคลือบอยู่บนแพล็ตเตอร์ซึ่งเท่ากับเป็นการเขียนข้อมูลลงบนฮาร์ดิสก์ การอ่านนั้นจะเป็นการเเปลงสัญญาณรูปแบบแม่เหล็กได้บันทึกอยู่ฮาร์ดิสก์กลับแล้วเพิ่มสัญญาณและทำการประมวลผล ให้กลับมาเป็นข้อมูลอีกครั้งอีกจุดที่แตกต่างกันของการเก็บข้อมูลระหว่างออดิเทปกับฮาร์ดิสก์นั้นก็คือเทปจะเก็บข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณอนาล็อกแต่สำหรับฮาร์ดิสก์นั้นจะเก็บในรูปสัญญาณดิจิตอลโดยจะเก็บเป็นเลขฐานสองคือ 0 แฃะ 1 ฮาร์ดิสก์ จะเก็บข้อมูลไว้ใน Track หรือเส้นวงกลมโดยจะเริ่มเก็บข้อมูลที่ด้านนอกสุดของฮาร์ดิสก์ก่อน จากนั้นจึงไล่เข้ามาด้านในสุด โดยฮาร์ดิสก์ จะเป็นอุปกรณ์ที่สามารถสุ่มเข้าถึงข้อมูลได้คือการที่หัวอ่านสามารถเคลื่อนที่ไปอ่านข้อมูลบนจุดใดของฮาร์ดิสก์

Hard Disk   คือ  อุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลได้มาก  สามารถเก็บได้อย่างถาวรโดยไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา  เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะไม่สูญหาย ดังนั้น  Hard Disk  จึงถูกจัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บระบบปฏิบัติการ  โปรแกรม  และข้อมูลต่าง  ๆ  เนื่องจาก  Hard Disk  เป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการอัพเกรดทำให้เทคโนโลยี  Hard Disk  ในปัจจุบันได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นการเลือกซื้อ  Hard Disk   จึงควรคำนึงซึ่งประสิทธิภาพที่จะได้รับจาก  Hard Disk
 ส่วนประกอบของฮาร์ดิสก์
1. แขนของหัวอ่าน ( Actuator Arm ) ทำงานร่วมกับ Stepping Motor ใน การหมุนแขนของหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม สำหรับการอ่านเขียนข้อมูล โดยมีคอนโทรลเลอร์ ทำหน้าที่แปลคำสั่งที่มาจากคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็เลื่อนหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่ต้องการ เพื่ออ่านหรือเขียนข้อมูล และใช้หัวอ่านในการอ่านข้อมูล ต่อมา Stepping Motor ได้ถูกแทนด้วย Voice Coil ที่สามารถทำงานได้เร็ว และแม่นยำกว่า Stepping Motor
2 . หัวอ่าน ( Head ) เป็น ส่วนที่ใช้ในการอ่านเขียนข้อมูล ภายในหัวอ่านมีลักษณะเป็น ขดลวด โดยในการอ่านเขียนข้อมูลคอนโทรลเลอร์  จะนำคำสั่งที่ได้รับมาแปลงเป็นแรงดันไฟฟ้าแล้วป้อนเข้าสู่ขดลวดทำให้เกิด การเหนี่ยวนำทางแม่เหล็ก ไปเปลี่ยนโครงสร้างของสารแม่เหล็ก ที่ฉาบบนแผ่นดิสก์ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลขึ้น
3. แผ่นจานแม่เหล็ก ( Platters ) มีลักษณะเป็นจานเหล็กกลมๆ ที่เคลือบสารแม่เหล็กวางซ้อนกันหลายๆชั้น (ขึ้นอยู่กับความจุ) และสารแม่เหล็กที่ว่าจะถูกเหนี่ยวนำให้มีสภาวะเป็น 0 และ1 เพื่อจัดเก็บข้อมูล โดยจานแม่เหล็กนี้จะติดกับมอเตอร์ ที่ทำหน้าที่หมุน แผ่นจานเหล็กนี้ ปกติ Hard Disk  แต่ละตัวจะมีแผ่นดิสก์ประมาณ 1-4 แผ่นแต่ละแผ่นก็จะเก็บข้อมูลได้ทั้ง 2 ด้าน
4. มอเตอร์หมุนจานแม่เหล็ก ( Spindle Moter ) เป็นมอเตอร์ที่ใช้หมุนของแผ่นแม่เหล็ก ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อความเร็วใน การหมุน ของ Hard Disk เพราะยิ่งมอเตอร์หมุนเร็วหัวอ่านก็จะเจอข้อมูลที่ต้องการเร็วขึ้น ซึ่งความเร็วที่ว่านี้จะวัดกันเป็นรอบต่อนาที ( Rovolution Per Minute หรือย่อว่า RPM ) ถ้าเป็น Hard Disk รุ่นเก่าจะหมุนด้วยความเร็วเพียง 3,600รอบต่อนาที ต่อมาพัฒนาเป็น 7,200รอบต่อนาที และปัจจุบันหมุนได้เร็วถึง 10,000รอบต่อนาที การพัฒนาให้ Hard Disk หมุนเร็วจะได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น
5. เคส ( Case ) มี ลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม ใช้บรรจุกลไกต่างๆ ภายในแผ่นดิสก์เพื่อป้องกันความเสียหาย ที่เกิดจากการหยิบ จับ และป้องกันฝุ่นละออง

ชนิดของฮาร์ดิสก์ แบบตามการเชื่อมต่อ (interface)
1. แบบ IDE (Intergrate Drive Electronics) 
Hard Disk แบบ IDE เป็นอินเทอร์เฟซรุ่นเก่า ที่มีการเชื่อมต่อโดยใช้สายแพขนาด 40 เส้น โดยสายแพ 1 เส้นสามารถที่จะต่อ Hard Disk  ได้ 2 ตัว บนเมนบอร์ดนั้นจะมีขั้วต่อ IDE อยู่ 2 ขั้วด้วยกัน ทำให้สามารถพ่วงต่อ Hard Disk ได้สูงสุด 4 ตัว ความเร็วสูงสุดในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ที่ 8.3 เมกะไบต์/ วินาที สำหรับขนาดความจุก็ยังน้อยอีกด้วย เพียงแค่ 504 MB
2. แบบE-IDE (Enhanced Integrated Drive Electronics)
Hard Disk แบบ E-IDE พัฒนามาจากประเภท IDE ด้วยสายแพขนาด 80 เส้น ผ่านคอนเน็คเตอร์ 40 ขาเช่นเดียวกันกับ IDE ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพ ในการทำงานให้มากขึ้น โดย Hard Disk ที่ทำงานแบบ E-IDE นั้นจะมีขนาดความจุที่สูงกว่า 504 MB และความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่สูงขึ้น โดยสูงถึง 133 เมกะไบต์/ วินาที
วิธีการรับส่งข้อมูลของ Hard Disk แบบ E-IDE แบ่งออกเป็น 2 โหมด คือ  PIO และ DMA
โหมด PIO (Programmed Input Output) เป็นการรับส่งข้อมูลโดยผ่านการประมวลผลของซีพียู คือรับข้อมูลจาก Hard Disk เข้ามายังซีพียู หรือส่งข้อมูลจากซีพียูไปยัง Hard Disk การทำงานในโหมดนี้จะเน้นการทำงานกับซีพียู  ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับงานที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลใน Hard Disk  บ่อยครั้งหรือการทำงานหลาย ๆ งานพร้อมกันในเวลาเดียวที่เรียกว่า Multitasking environment
โหมด DMA (Direct Memory Access) จะอนุญาตให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ส่งผ่านข้อมูลหรือติดต่อไปยังหน่วยความจำหลัก (RAM) ได้โดยตรงโดยไม่ต้องติดต่อไปที่ซีพียูก่อนเหมือนกระบวนการทำงานปกติ ทำให้ซีพียูจัดการงานได้รวดเร็วขึ้น

3. แบบ SCSI (Small computer system interface)
   Hard Disk แบบ SCSI เป็น Hard Disk ที่มีอินเทอร์เฟซที่แตกต่างจาก E-IDE โดย Hard Disk แบบ SCSI จะมีการ์ดสำหรับควบคุมการทำงาน โดยเฉพาะ เรียกว่า การ์ด SCSI สำหรับการ์ด SCSI นี้ สามารถที่จะควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ที่มีการทำงานแบบ SCSI ได้ถึง 7 ชิ้นอุปกรณ์ ผ่านสายแพรแบบ SCSI อัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลของ แบบ SCSI มีความเร็วสูงสุด 320 เมกะไบต์/วินาที  กำลังรอบในการหมุนของจานดิสก์ปัจจุบันแบ่งเป็น 10,000 และ 15,000 รอบต่อนาที ซึ่งมีความเร็วที่มากกว่าประเภท E-IDE  ดังนั้น  Hard Disk แบบ SCSI จะนำมาใช้กับงานด้านเครือข่าย (Server) เท่านั้น


4. แบบ Serial ATA 
เป็นอินเทอร์เฟซที่กำลังได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เมื่อการเชื่อมต่อในลักษณะParallel ATA หรือ E-IDE เจอทางตันในเรื่องของความเร็วที่มีความเร็วเพียง 133 เมกะไบต์/วินาทีส่วนเทคโนโลยีเชื่อมต่อรูปแบบแบบใหม่ที่เรียกว่า Serial ATA ให้อัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลขั้นแรกสูงสุดถึง 150 เมกะไบต์/วินาที โดยเทคโนโลยี Serial ATA นี้ถูกคาดหวังว่าจะสามารถ ขยายช่องสัญญาณ (Bandwidth) ในการส่งผ่านข้อมูลได้เพิ่มขึ้นถึง 2-3 เท่า และยังรองรับข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น ไม่เฉพาะ Hard Disk เพียงเท่านั้นที่จะมีการเชื่อมต่อในรูปแบบนี้ แต่ยังรวมไปถึง อุปกรณ์ตัวอื่น ๆ อย่าง CD-RW หรือ DVD อีกด้วย
 ด้วยการพัฒนาของ Serial ATA ทำให้ลดปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการส่งผ่านข้อมูลระหว่าง CPU ความเร็วสูงกับตัว Hard Disk  ลงได้  ในอนาคต Serial ATA ยังแตกต่างจาก Hard Drive ที่ใช้อินเทอร์เฟซ Parallel ATA ซึ่งเป็นแบบขนาน เพราะอินเทอร์เฟซ Serial ATA นี้ มีการกำหนดให้ Hard Drive ตัวไหนเป็น Master (ตัวหลัก) หรือ Slave (ตัวรอง) ผ่านช่องเชื่อมต่อบนเมนบอร์ดโดยตรง  สามารถลดความยุ่งยากในการติดตั้งลงไป อีกทั้ง Hard Disk ประเภทนี้บางตัวยังรองรับการถอดสับเปลี่ยนโดยทันที (Hot Swap) ทำให้การเชื่อมต่อในลักษณะนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก

ความจุของฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปในปัจจุบันนั้นมีตั้งแต่ 20 จิกะไบต์ ถึง 3 เทระไบต์
  • ขนาด 8 น้ว (241.3 มิลลิเมตร × 117.5 มิลลิเมตร × 362 มิลลิเมตร)
  • ขนาด 5.25 นิ้ว (146.1 มิลลิเมตร × 41.4 มิลลิเมตร × 203 มิลลิเมตร)
  • ขนาด 3.5 นิ้ว (101.6 มิลลิเมตร × 25.4 มิลลิเมตร × 146 มิลลิเมตร) เป็นฮาร์ดดิสก์สำหรับคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop) หรือซิร์ฟเวอร์ (Server) มีความเร็วในการหมุนจานอยู่ที่ 10,000, 7,200 หรือ 5,400 รอบต่อนาที โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่ 80 จิกะไบต์ ถึง 3 เทระไบต์
  • ขนาด 2.5 นิ้ว (69.85 มิลลิเมตร × 9.5–15 มิลลิเมตร × 100 มิลลิเมตร) เป็นฮาร์ดดิสก์สำหรับคอมพิวเตอร์พกพา แล็ปทอป, UMPC, เน็ตบุก, อุปกรณ์มัลติมีเดียพกพา มีความเร็วในการหมุนจานอยู่ที่ 5,400 รอบต่อนาที โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่ 60 จิกะไบต์ ถึง 1 เทระไบต์
  • ขนาด 1.8 นิ้ว (55 มิลลิเมตร × 8 มิลลิเมตร × 71 มิลลิเมตร)
  • ขนาด 1 นิ้ว (43 มิลลิเมตร × 5 มิลลิเมตร × 36.4 มิลลิเมตร)

การเก็บข้อมูล

ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์จะอยู่บนเซกเตอร์และแทร็ก แทร็กเป็นรูปวงกลม ส่วนเซกเตอร์เป็นเสี้ยวหนึ่งของวงกลม อยู่ภายในแทร็กดังรูป แทร็กแสดงด้วยสีเหลือง ส่วนเซกเตอร์แสดงด้วยสีแดง ภายในเซกเตอร์จะมีจำนวนไบต์คงที่ ยกตัวอย่างเช่น 256 ถึง 512 ขึ้นอยู่กับว่าระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์จะจัดการแบ่งในลักษณะใด เซกเตอร์หลายๆ เซกเตอร์รวมกันเรียกว่า คลัสเตอร์ (Clusters) ขั้นตอน ฟอร์แมต ที่เรียกว่า การฟอร์แมตระดับต่ำ (Low -level format ) เป็นการสร้างแทร็กและเซกเตอร์ใหม่ ส่วนการฟอร์แมตระดับสูง (High-level format) ไม่ได้ไปยุ่งกับแทร็กหรือเซกเตอร์ แต่เป็นการเขียน FAT ซึ่งเป็นการเตรียมดิสก์เพื่อที่เก็บข้อมูลเท่านั้น